เมนู

ว่าด้วยมุสาวาทมีด้วยอาดาร 3 ฯลฯ


[828] มุสาวาท เรียกว่า ความพูดเท็จ ในคำว่า นรชนพึง
ออกจากความพูดเท็จ
บุคคลบางคนในโลกนี้ อยู่ในที่ประชุม อยู่ใน
ประชุมชน อยู่ในท่ามกลางญาติ อยู่ในท่ามกลางข้าราชการ หรืออยู่ใน
ราชสกุล เขาถูกนำไปถามเป็นพยานว่า บุรุษผู้เจริญ มาเถิด ท่านรู้สิ่งใด
ก็จงบอกสิ่งนั้น บุคคลนั้นเมื่อไม่รู้ก็บอกว่ารู้บ้าง เมื่อรู้ก็บอกว่าไม่รู้บ้าง
เมื่อไม่เห็นก็บอกว่าเห็นบ้าง เมื่อเห็นก็บอกว่าไม่เห็นบ้าง เป็นผู้กล่าว
คำเท็จทั้งที่รู้ เพราะเหตุตนบ้าง เพราะเหตุผู้อื่นบ้าง เพราะเห็นแก่อามิส
เล็กน้อยบ้าง ด้วยประการดังนี้ นี้เรียกว่า ความพูดเท็จ.
อีกอย่างหนึ่ง มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ 3 อาการ อาการ 5
อาการ 6 อาการ 7 อาการ 8 ฯลฯ มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ 8 นี้.
คำว่า นรชนพึงออกจากความพูดเท็จ ความว่า ไม่พึงดำเนิน ไม่พึง
ประกอบ ไม่พึงนำเข้าไปด้วยความพูดเท็จ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป
ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความพูดเท็จ พึงเป็นผู้งด เว้น เว้น เฉพาะ ออก
สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องความพูดเท็จ พึงเป็นผู้มีจิตปราศจาก
แดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนพึงออกจากความพูดเท็จ.
[829] ชื่อว่ารูป ในคำว่า ไม่พึงทำความเสน่หาในรูป คือ
มหาภูตรูป และอุปาทายรูปแห่งมหาภูตรูป 4. คำว่า ไม่พึงทำความเสน่หา
ในรูป
ความว่า ไม่ควรทำความเสน่หา ไม่ควรทำความพอใจ ไม่ควรทำ
ความรัก ไม่ควรทำความกำหนัดในรูป คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดพร้อม
ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น ชื่อว่า ไม่พึงทำความ
เสน่หาในรูป.